Skip to main content

MWG policy brief on Covid 19 การบริหารจัดการคนต่างชาติในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

นับตั้งแต่มีสถานการณ์การแพร่ระบาด Covid 19 MWG ได้รวบรวมสถานการณ์และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ โดยเอกสารฉบับนี้จะเน้นไปกลุ่มคนที่ตกหล่นและมาตรการที่ไม่คลอบคลุม โดยแบ่งประเด็น 1.สิทธิการอยู่อาศัยตามประเภทกลุ่มเอกสาร และลุคคลตกหล่น 2. การเข้าถึงการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวและกลไกเยียวยาโดยภาครัฐและประกันสังคม 3. การละเมิดสิทธิแรงงาน ผลของการบังคับใช้ พรก.ฉุกเฉินและแรงงานข้ามชาติ 4. แรงงานข้ามชาติและการเข้าถึงบริการสุขภาพ

  1. แรงงานข้ามชาติและสถานการณ์โควิด

ข้อมูลวันที่ 14 เมษายน 2564 ระบุมีผู้ติดเชื้อ 2551 คน มีคนติดเป็นกัมพูชา 1 คน มีคนติดเป็นพม่า 14 คน ลาว 1 8o นอกเหนือจากนี้ทางการพม่ารายงานว่า มีผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับทางไทยอีก 2 คน กระทรวงสาธารณสุขได้ออกหนังสือซึ่งรับรองการตรวจและรักษาสำหรับทุกคนในประเทศไทยแต่ยังไม่มีแนวปฏิบัติในกรณีแรงงานข้ามชาติและประชากรข้ามชาติ ทั้งที่มีและไม่มีเอกสาร เป็นผู้ป่วยโรคโควิด-19 ให้สามารถดำเนินการเข้ารับการรักษาและสถานพยาบาลสามารถเบิกตามกองทุนประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว/คนต่างด้าว กองทุนประกันสังคม หรือกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ การป้องกันและควบคุมโรคที่กระทำโดยหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นก็ไม่คลอบคลุมถึงแรงงานข้ามชาติ ซึ่งแรงงานข้ามชาติไม่ได้รับการให้ความรู้ รับแจกหน้ากาก อุปกรณ์เจล หรือการทำความสะอาดชุมชนต่างๆ

มาตรการตามพรก.ฉุกเฉินมีผลกระทบต่อแรงงานข้ามชาติ 1. แรงงานบางส่วนได้รับผลกระทบจากการรับจ้าง มีรายงานการเลิกจ้างของพนักงานโรงแรมในภูเก็ต พังงา โดยไม่มีการจ่ายค่าชดเชย หลายกิจการไม่มีการนำแรงงานเข้าเป็นผู้ประกันสังคม แรงงานไม่ได้รับการช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน 2.แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ไม่ได้มีเงินเก็บ(ออมเงินโดยการส่งเงินการกลับบ้าน)และเครือข่ายทางสังคมที่จะสนับสนุนยามเข้าสู่วิกฤติ 3. หลายกิจการเลิกจ้างแรงงานและสั่งให้แรงงานข้ามชาติพักงานอย่างไม่ถูกกฎหมาย ไม่มีการจ่ายชดเชยหรือค่าจ้าง รวมทั้งการเข้าถึงกลไกคุ้มครองและเยียวยายังเต็มไปด้วยอุปสรรค 4. นโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติก็ยังตึงตัว ไม่สามารถตอบสนองต่อสภาพตลาดแรงงานปัจจุบันได้ แนวปฏิบัติกับนโยบายยังไม่สอดคล้องกัน เช่น สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองยังคงขอให้แรงงานไปรายงานตัว 90 วัน แม้จะสามารถทำในระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ เป็นต้น

จากภาพข่าวแรงงานข้ามชาติมีแรงงานข้ามชาติเดินทางกลับประเทศต้นทางทำให้มีการแบนแรงงานข้ามชาติจากการใช้บริการขนส่งระหว่างจังหวัดอย่างไรก็ตามก็ยังมีแรงงานที่จ้างเหมาให้มีการจัดรถไปส่งที่ชายแดนและมีการจับกุม ซึ่งรัฐบาลไทยไม่มีมาตรการเยียวยาแรงงานข้ามชาติ ทำให้แรงงานที่ยังอยู่ในประเทศไทยอาจจะมีการเคลื่อนย้ายกลับประเทศต้นทาง หรือ มีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในสภาวะเข้าเมืองผิดกฏหมายจากการที่เอกสารเดินทางที่ถือหมดอายุ หรือ ถูกแจ้งออกอย่างไม่เป็นธรรม พื้นที่ชายแดนพบว่ามีการอพยพของแรงงานบางส่วนกลับไปอยู่บริเวณชุมชนไม่ไกลจากจุดข้ามด่านเพื่อรอจังหวะให้ด่านเปิด โดยสื่อพม่ารายงานว่าอาจจะจะมีการเปิดด่านวันที่ 15 เมษายน เป็นต้นไป แต่มีการคาดคะเนถึงการอพยพระลอกใหม่

กระทรวงแรงงานไม่มีนโยบายเฉพาะที่จะบรรเทาทุข์แรงงานข้ามชาติ ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองฉุกเฉินระหว่างร้องเรียนค่าจ้างและเงินชดเชยต่างๆ การบรรเทาทุกข์แรงงานข้ามชาติที่ถูกทอดทิ้งจากนายจ้างภายใต้มาตรการล๊อคดาวน์ เข้าไม่ถึงปัจจัยสาธารณูปโภคและอุปโภค โดยไม่มีการจัดสรรค่าธรรมเนียมจากการทำใบอนุญาตทำงานมาคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในภาวะวิกฤติ มีแต่มาตรการด้านเอกสารแต่ไม่สามารถบรรเทาทุกข์มนุษยธรรมใดๆ

 

  1. แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยกับการไม่ได้รับสิทธิอยู่อาศัยชั่วคราวขณะวิกฤติ

MWG ได้ประมาณการณ์จำนวนแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีเอกสารเดินทางแต่ปัจจุบันตกเป็นแรงงานที่มีสถานะเข้าเมืองผิดกฎหมายจำนวน 500,000 คน ซึ่งมีบางส่วนอาจจะเดินทางกลับไปยังประเทศต้นทาง โดยปัญหาที่พบคือ 1. แรงงานได้มีการเปลี่ยนย้ายนายจ้างแต่นายจ้างแจ้งย้ายเข้าและย้ายออกไม่ทันตามที่กำหนดไว้ 2. แรงงานที่ไม่ประสงค์จะทำงานต่อแต่ด่านชายแดนปิดก่อน ทำให้แรงงานไม่สามารถเดินทางกลับได้ 3. แรงงานที่ถูกเลิกจ้าง ถูกปิดงาน หรือ ถูกสั่งพักงาน และ 4 แรงงานข้ามชาติและคนต่างชาติที่ไม่มีเอกสารเดินทาง โดย MWG ได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี[1] ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองพิจารณาอนุญาตให้สำหรับคนต่างชาติอื่น ๆ ที่อาจจะยังไม่มีสถานะเข้าเมืองถูกกฎหมาย พักอยู่อาศัยในท้องที่ที่อยู่ในปัจจุบันระหว่างรอการส่งกลับ หรือจนกว่าจะมีมาตรการอื่น ๆจากรัฐตามแต่กรณี โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 54 วรรคสามและวรรคสี่มา พรบ. คนเข้าเมือง โดยเป็นการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติ เดินทางอพยพกลับประเทศต้นทางแม้ว่าด่านชายแดนปิด อนึ่งการที่เปิดให้มีการต่อวีซ่าอัติโนมัติตามมาตรการบรรเทาของมหาดไทยก็ไม่ได้มีการพูดถึงคนที่ไม่มีเอกสารเข้าเมือง ซึ่ง MWG ประมาณการณ์ว่าอาจจะมีสูงถึง 500,000 คนในประเทศไทย

MWG รวบรวมข้อมูลสถิติแรงงานข้ามชาติที่เคยและกำลังมีเอกสารทำงานตามกฎหมายเป็นตารางข้างล่าง เพื่อให้เห็นกลุ่มประชากรที่หลุดจากมาตรการผ่อนผันสิทธิการอยู่อาศัยตามกฎหมาย

กลุ่มเอกสาร

กลุ่มตามนโยบาย

จำนวน

นโยบายที่ครอบคลุม

สิทธิการอยู่อาศัย

นโยบายที่ยังไม่ได้ดำเนินการ

กลุ่มที่ต้องยื่นเนมลิสต์

กลุ่มเป้าหมายตามมติครม.ที่จะหมดอายุตั้งแต่ 31 มีนาคม 2563

1,739,908 คน

 

ขยายระยะเวลาดำเนินการออกไปจนถึง 30 พ.ย. กรณียื่นเนมลิสต์แล้ว

สามารถอยู่อาศัยและทำงานได้เพื่อรอดำเนินการให้เสร็จถึง 30 พ.ย.

กลุ่มที่ดำเนินการเรียบร้อยแล้วอยู่อาศัยได้ตามระยะเวลาของวีซ่า

มาตรการการรองรับกรณีคนที่ไม่สามารถยื่นเนมลิสต์ได้ทันหรือไม่สามารถยื่นได้ ตอนนี้มีสถานะเข้าเมืองผิดกฎหมาย

ตัวเลขแรงงานข้ามชาติทีได้ดำเนินการยื่นบัญชีรายชื่อ (Name list ) ไว้แล้ว

1,266,351 คน (213,461 กัมพูชา, 50,581 ลาว, 1,002,309 พม่า)

 

ขยายระยะเวลาดำเนินการออกไปจนถึง 30 พ.ย. กรณียื่นเนมลิสต์แล้ว

สามารถอยู่อาศัยและทำงานได้เพื่อรอดำเนินการให้เสร็จถึง 30 พย.

-กลุ่มที่เข้าประกันสังคม

-กลุ่มที่มีประกันสุขภาพและปรันสุขภาพหมดอายุวันที่ 31 มีนาคม 

ตัวเลขแรงงานข้ามชาติที่ได้จัดทำบัตรประจำตัวคนที่ไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู)

 

760,837คน

เงินทดแทนกรณีเลิกจ้าง

ประกันการว่างงานกรณีเป็นผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคม

อยู่ได้จนถึง 30 พย. 2564

กลุ่มประกันสังคมที่เป็นผู้ประกันตนไม่ถึง 6 เดือน

กลุ่มแรงงานนอกระบบประกันสังคม

แรงงานประมงตาม ม.83ที่ต้องยื่นเนมลิสต์

12,040 คน

 

อยู่ได้จนถึง 30 กันยายน 2563

(ต้องต่อวีซ่าอีกหนึ่งปี)

ไม่มีมาตรการรองรับกรณีหากมีการเลิกจ้างหรือได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐ

แรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตามระบบ MoU

แรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตามระบบ MoU ที่ทำงานจนครบสีปี ซึ่งวีซ่ากำลังจะสิ้นสุด

44,222 คน

ผ่อนผันให้อยู่และทำงานต่อได้ตามระยะเวลาที่ประกาศสถานฉุกเฉินกำหนด

เบื้องต้นอยู่ได้ถึง 30 เมษายน 2563 อาจจะขยายตามมาตรการสถานการณ์ฉุกเฉิน

ยังขาดมาตรการรองรับในกรณีที่นายจ้างเดิมปิดกิจการ เลิกจ้างว่าจะต้องทำอย่างไร ย้ายนายจ้างระหว่างผ่อนผันได้หรือไม่

แรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตามระบบ MoU

1,005,848 คน

 

 

 

แรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชาและเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตามมาตร 64 ของพรก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 (กลุ่มจ้างงานในพื้นที่ชายแดนลักษณะไปกลับหรือตามฤดูกาล)

64,364 คน

ผ่อนผันให้อยู่และทำงานต่อได้ตามระยะเวลาที่ประกาศสถานฉุกเฉินกำหนด

เบื้องต้นอยู่ได้ถึง 30 เมษายน 2563 อาจจะขยายตามมาตรการสถานการณ์ฉุกเฉิน

ยังไม่มีมาตรการรองรับที่ชัดเจนกรณีเลิกจ้าง ว่างงาน หรือเงินอุดหนุน

แรงงานประมง

แรงงานประมงที่เปิดจดทะเบียนรอบใหม่

ไม่ทราบจำนวน

มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างประกาศมหาดไทยและประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการเปิดจดทะเบียนตาม ม.83 ของพรก.ประมง

1 ปีหลังจากได้รับการตรจลงตราวีซ่าและหนังสือคนประจำเรือ

ยังไม่มีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินการ

 

  1. สิทธิการเยียวยา มาตรการคุ้มครอง โดยภาครัฐและภาคเอกชน

ประเภทลูกจ้าง

สิทธิประโยชน์

การใช้สิทธิประโยชน์

 

อุปสรรคการเข้าถึงการเยียวยาของแรงงานข้ามชาติ

หน่วยงานรับผิดชอบ

ลูกจ้างชั่วคราว

อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม

ลูกจ้างในระบบประกันสังคมที่เป็นผู้ประกันตนไม่ถึงหกเดือน

 

รับเงินจำนวน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน

ไม่สามารถเข้าถึงได้เนื่องจากไม่มีสัญชาติไทยแม้แรงงานจะเป็นผู้ประกันตนไม่ถึง 6 เดือนซึ่งแรงงานข้าวชาติ

 

กระทรวงการคลัง

ลูกจ้างในระบบประกันสังคม (มาตรา 33 ต้องส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่าหกเดือน)

 

ถูกเลิกจ้าง ( Termination of contract)

70 % ของค่าจ้าง ไม่เกิน 6 เดือน 

กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

แรงงานข้ามชาติจำนวนที่เป็นสมาชิกประกันสังคมมีจำนวนxxx โดยกลุ่มกิจการที่ยกว้นประกันสังคม XXXX

แรงงานจำนวน XXXX ที่ถือบัตรประกันสุขภาพ ซึ่งต้องไปรับการคุ้มครองตามพรบ.ประกันสังคม

 

 

ลาออกเอง ( resignation and unemployed status)

45%  ของค่าจ้างไม่เกิน 3 เดือน

กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

กรอกระบบ E-form ผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม

  1. ระบบออนไลน์เป็นภาษาไทยทั้งหมด และไม่เป็นมิตรกับแรงงานข้ามชาติ
  2. แรงงานรับทราบสิทธิประกันสังคมน้อย
  3. นายจ้างใช้วิธีเลิกจ้างโดยไม่แจ้งพนักงานตรวจแรงงาน
  4. แรงงานไม่สามารถเดินทางไปที่สำนักงานประกันสังคมและสำนักงานประกันสังคมก็ปิด
  5. ประกันสังคมเรียกเอกสารเกินกว่าความจำเป็น รวมทั้งบางพื้นที่สร้างเงื่อนไขสถานะเข้าเมืองทั้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทรงสิทธิตาม

 

 

 

 

หยุดกิจการชั่วคราว- นายจ้างสั่งกักตัว 14 วัน

ไม่ต้องขึ้นทะเบียนว่างงาน

ต้องมีเอกสารรับรองจากนายจ้างว่าสั่งหยุดงานอันเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

 

 

รัฐสั่งหยุดกิจการชั่วคราว

ไม่ต้องขึ้นทะเบียนว่างงาน ประกันสังคมจ่าย 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 60 วัน

ต้องมีคำสั่งผู้ว่าระดับจังหวัดให้ปิดกิจการนั้นๆ ไม่รวมถึงห่วงโซ่การผลิต เช่น มีคำสั่งปิดสถานบันเทิง แต่แม่บ้านทำความสะอาดที่จ้างผ่านระบบจ้างผ่านบริษัทฯอื่น

 

มาตรการคุ้มครองแรงงาน ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน

นายจ้างสั่งหยุดงานตามมาตรา 75 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ

โดยจ่ายเงิน 75%จากเงินเดือน โดยนายจ้างต้งแจ้งต่อพนักงานตรวจแรงงาน

  1. พบกรณีนายจ้างให้ลูกจ้างลาออกเอง
  2. ต้องร้อง ไปที่พนักงานตรวจแรงงาน ซึ่งไม่สามารถกระทำได้

 

 

นายจ้างเลิกจ้าง

  1. ทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน
  2. ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ได้รับค่าชดเชย 90 วัน
  3. ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ได้ค่าชดเชย 180 วัน
  4.  ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี ได้ค่าชดเชย 240 วัน
  5. ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน
  6.  ทำงานครบ 20 ปี จะได้รับค่าชดเชย 400 วัน

การร้องคร. 7

  1. การร้องคร. 7 ออนไลน์ เป็นภาษาไทยทั้งหมด
  2. ต้องให้ผู้ร้องกรอกเอง โดยต้องแสดงเลข 13 หลัก
  3. ขณะที่กรอกก็จะมีหน้าต่างย้ำว่าหากกรอกข้อมูลเป็นเท็จจะได้รับโทษ
  4. ไม่สามารถติดตามได้ว่าคร.7 ที่กรอกไปมีความคืบหน้าอย่างไร

 

 

การร้องผ่านเว็บไซต์

กรมจัดหางานและสำนักงานสวัสดิการ

จากที่องค์กรภาคประชาสังคมเคยร้องเรียน พบว่าสุดท้ายส่วนกลางก็ปัดความรับผิดชอบให้แรงงานข้ามชาติต้องไปร้องเรียนระบบออนไลน์ที่เป็นภาษาไทย

 

 

  1. สถานการณ์ละเมิดสิทธิแรงงาน

MWG ได้รวบรวมกรณีศึกษาที่แรงงานข้ามชาติเผชิญขณะเกิดวิกฤติโควิด

กรณีศึกษาที่ 1  แรงงานข้ามชาติทำงานมากว่า 4 ปีแล้ว แต่เพิ่งเข้าประกันสังคมตามมาตร 33 เพียง 2 เดือน และนายจ้างปิดกิจการชั่วคราว

ลูกจ้างเพศหญิง อายุ 30 ปี ระยะเวลา 4 ปี (ตั้งแต่ ปี2559 ) ลูกจ้างรับค่าจ้างเป็นรายเดือนเดือนละ 10,500 บาท ปกติจะจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 5 เดือนถัดไป ทั้งนี้นายจ้างเพิ่งเริ่มนำลูกจ้างเข้าระบบประกันสังคมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์  2563 เมื่อวันที่ 23 มี.ค.63 นายจ้างแจ้งว่าปิดร้านเนื่องกลัวโรคระบาดและแจ้งกับลูกจ้างจะจ่ายค่าจ้างค่าจ้างครึ่งหนึ่งของค่าจ้างปกติต่อเดือน  กรณีนี้ลูกจ้างทำงานมา 4 ปีแล้ว แต่เพิ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนเพียง 2 เดือน  ทำให้ไม่สามารถรับสิทธิในประกันการว่างงานได้ ทั้งที่ควรจะได้สิทธินั้น   เมื่อนายจ้างพาแรงงานขึ้นทะเบียนแล้วเป็นไปได้ว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้สอบถามข้อเท็จจริงเรื่องระยะเวลาการจ้างงานเพื่อให้แรงงานได้รับสิทธิในประกันสังคมที่ควรได้รับ หรือมีการแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จต่อเจ้าหน้าที่ ทำให้แรงงานรายนี้ไม่ได้รับการคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคม

กรณีศึกษาที่ ร้านหมูกะทะปิดร้านตามคำสั่งผู้ว่าฯ ไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างหยุดกิจการชั่วคราวไม่ได้นำแรงงานขึ้นทะเบียนประกันสังคม

ร้านหมูกะทะ มีแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาประมาณ 20-23 คน จ้างแรงงานเป็นพนักงานรายวันและไม่ได้นำแรงงานขึ้นทะเบียนประกันสังคม โดยแรงงานมีเพียงบัตรประกันสุขภาพเท่านั้น  เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563 ผู้ว่าราชการจังหวัดฯได้มีคำสั่งให้ร้านอาหารปิดกิจการชั่วคราว  ร้านหมูกะทะจึงแจ้งกับพนักงานว่าต้องปิดร้านชั่วคราวตามคำสั่งของผู้ว่าฯ  ทั้งนี้ จะให้พนักงานพักอาศัยในที่นายจ้างจัดหาให้ตามปกติและนายจ้างจะรับผิดชอบเรื่องค่าน้ำ ค่าไฟและอาหาร 3 มื้อตามปกติ  แต่ไม่สามารถจ่ายค่าจ้างให้ได้เนื่องจากจ้างงานเป็นรายวัน

ข้อสังเกตุ การจ้างงานในร้านอาหารเป็นงานบริการที่เข้าข่ายต้องเข้าประกันสังคม  แต่นายจ้างกลับใช้ระบบประกันสุขภาพแทน ซึ่งกรณีนี้นายจ้างฝ่าฝืนกฎหมายไม่เข้าประกันสังคม  ไม่มีแนวทางปฏิบัติจากประกันสังคมที่จะไปติดตามจากนายจ้างโดยกองทุนออกให้ก่อนและเรียกเก็บเพิ่มจากนายจ้าง แรงงานไม่เข้าใจว่าเป็นแรงานรับจ้างรายวันก็ต้องได้รับค่าจ้างระหว่างหยุดกิจการชั่วคราว แต่เนื่องจากภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจก็คงไม่เสี่ยงที่จะไปร้องเรียนขอค่าจ้างระหว่างหยุดงาน เนื่องจากเสี่ยงที่จะไม่ได้งานใหม่ตามกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด ( 15 วันนับจากนายจ้างเดิมแจ้งออก) และเสี่ยงที่จะไม่มีที่พักและอาหารที่จัดหาโดยนายจ้าง

กรณีที่ 3 แรงงานตามระบบ โรงงานอาหารส่งออก

โรงงานแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติและแรงงานไทยประมาณ 160 กว่า คน  เนื่องจากสถานการณ์การควบคุมโรด บริษัทจึงปิดประกาศหยุดกิจการชั่วคราวเป็นเวลา 60 วัน  โดยรับจะชำระค่าจ้างให้แรงงานเป็นเวลา 15 วัน  มีแรงงานข้ามชาติจากเมียนมาจำนวน 60 คน ที่นำเข้าตามระบบ MoU  ตัดสินใจเดินทางกลับประเทศต้นทางเพราะได้รับค่าจ้างเพียง 15 วันซึ่งไม่เป็นไปตามกฎหมาย แรงงานมีความประสงค์จะขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิในกองทุนประกันสังคมเพื่อรับเงินชดเชยเนื่องจากนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว(สิทธิเท่ากันกับกรณีว่างว่าง)แต่ปรากฎว่าไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ เนื่องจากจะต้องใช้เอกสารของนายจ้างประกอบด้วย

กรณีที่ 4 บริษัทผลิตเฟอร์นิเจอร์ในจังหวัดสมุทรสาคร เลิกจ้างแรงงาน 49 คน อ้างต้องรอเอกสารนำเข้า MoU

บริษัทฯผลิตเฟอร์นิเจอร์ชื่อดังแจ้งออกแรงงานจำนวน 49 คน เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2563 แต่ยังให้แรงงานทำงานจนถึงวันที่ 31 มีนาคม โดยไม่แจ้งแรงงานว่าได้แจ้งชื่อออกกับสำนักงานจัดหางานแล้วตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2563 ปฎิเสธไม่จ่ายค่าชดเชย อ้างว่าแจ้งออกชั่วคราวระหว่างรอเอกสารนำเข้า MoU ซึ่งแรงงานจ่ายค่าดำเนินการไปแล้วจำนวน 12,500 บาท กับบริษัท และบริษัทได้ให้บริษัทจัดหางานดำเนินการแทน  แรงงานไม่กล้าร้องเรียนเนื่องจากยังมีความหวังจะกลับไปทำงานที่บริษัทเดิม  แม้จะเข้าเงื่อนไขให้เปลี่ยนย้ายนายจ้างได้แต่ภาวะนี้ทำให้แรงงานไม่กล้าเสี่ยงหางานใหม่ และเมื่อแรงงานไปขอขึ้นทะเบียนว่างงานสำนักงานประกันสังคมแจ้งว่าบริษัทยังไม่ได้แจ้งยกเลิกการจ่ายเงินสมทบ บริษัทยืนยันไม่ช่วยเหลือใดๆแก่แรงงาน แต่ถ้ามีแรงงานจะกู้ยืมเงินในระหว่างนี้ก็จะให้กู้

  นายจ้างอ้างว่าเนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้ไม่สามารถเดินทางไปรับเอกสาร MoU ที่จะทำให้แรงงานกลุ่มนี้ได้เอกสารเพื่ออยู่และทำงานต่อได้ กลับดำเนินการแจ้งออกแต่ไม่ยินยอมจ่ายค่าชดเชย สำนักงานประกันสังคมโดยภาระให้แรงงานในการเอาหลักฐานมาให้ และปัญหาฐานข้อมูลที่ไม่เชื่อมโยงกันของกรมการจัดหางานและสำนักงานประกันสังคมสร้างภาระให้กับแรงงานในการเข้าถึงสิทธิตามกฎหมาย

 

[1] แถลงการณ์จาก MWG มีเป็นภาษาไทยและอังกฤษ https://mwgthailand.org/th/publication